หน้าเว็บ

week2

Main Idea :  สัตว์น้ำเป็นสิ่งมีชีวิตสังคมหนึ่งที่มีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลายบนพื้นฐานของความแตกต่างทั้งสายพันธ์และความต่างวัย
Big Question :  การดำรงชีวิตของสัตว์น้ำสะท้อนการดำรงชีวิตของคนอย่างไร?
Understanding Goal : เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตระหนักและเห็นคุณค่าของสัตว์น้ำ อีกทั้งการช่วยดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำถามประจำสัปดาห์ : เด็กๆ คิดว่าสิ่งมีชีวิตอะไรอาศัยอยู่ในน้ำ?
Week
Input
Process
Output
Outcome
2
4 -8 ส.ค. 57

สร้างฉันทะ(เลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้)
คำถาม
-เด็กๆ อยากเรียนเรื่องอะไร
เครื่องมือคิด
- walk and talk (นักเรียนพบเห็นอะไรบ้างระหว่างที่เดินสำรวจ)
- white board share
-การ์ด & ชาร์ท
บรรยากาศ/สื่อ
บริเวณโรงเรียน
บรรยากาศในห้องเรียน
-นิทาน วาฬใหญ่ใจดี
-นิทาน จระเข้ยิ้มแฉ่ง
-เพลง สัตว์น้ำ
-กระดาษ
-สี
-คลิปวีดีโอ
-ตู้ปลา
-สัตว์น้ำ เช่น ปลา เต่า,กุ้ง,ปลาฉลาม ,ปลาจระเข้
-เบาะรองนั่ง
-กลอง
เด็กในห้องเรียน (ความแตกต่างของเด็กแต้ละบุคคล ความสนใจในสิ่งต่างๆ)
ครู (กระตุ้นการเรียนรู้ อำนวยการเรียนรู้ด้วยสื่อและคำถาม)
ห้องเรียน (มีบรรยากาศของการเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำ)
 -ครูเล่านิทานเรื่อง “วาฬใหญ่ใจดี”  ร่วมกันสนทนาเรื่องราวในนิทาน ว่าเห็นสัตว์น้ำอะไร
-ครูพานักเรียนประดิษฐ์ “วาฬยืดได้”
-ครูเล่านิทานเรื่อง จระเข้ายิ้มแฉ่ง  จากนั้นสนทนาเรื่องราวในนิทานว่าเจอสัตว์น้ำอะไรบ้างในนิทาน
-ครูพานักเรียนเล่นเกมต่อภาพจระเข้ โดยมีแผนภาพจิ๊กซอร์รูปจระเข้ขนาดใหญ่ 10 แผ่น จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันหาภาพที่หายไป
-ครูเล่านิทานเรื่อง “ปูเสฉวน” จากนั้นสนทนาเรื่องราวในนิทาน ว่าเด็กๆ คิดว่าปูอาศัยอยู่ที่ไหน ปูเป็นสัตว์น้ำหรือไม่
-ครูพานักเรียนเล่นเกมปูลงรู โดยเอาเบาะรองน้ำมาสมมุตเป็นรูปู เมื่อครูพูดว่าน้ำลง ปูสามารถเดินออกจากรูได้ แต่หากครูพูดว่าน้ำขึ้น ต้องขึ้นไปยืนบนเบาะ (รู) หากใครกลับเข้ารูช้า ต้องโดนฉลามกิน
-ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “สำรวจโลก ชีวิตใต้ทะเลhttp://www.youtube.com/watch?v=OOBd8Itdqho
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเรื่องราวในนิทาน จากนั้นครูถามสิ่งที่เด็ก ๆ อยากเรียน
-นักเรียนร่วมกันระดมความคิดสิ่งที่อยากเรียน
-นักเรียนร่วมกันตั้งชื่อหน่วยโครงงาน “พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำปลาสายรุ้ง”
-ครูเล่านิทานเรื่อง “ทำไมแมงกะพรุนไม่มีกระดูก”และให้นักเรียนดูคลิป วีดีโอ “สำรวจแมงกะพรุน”
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะของแมงกะพรุนว่าเป็นอย่างไร
-ครูให้นักเรียนประดิษฐ์ “โมบายแมงกะพรุนสายรุ้ง” โดยนำจานกระดาษตัดครึ่งจากนั้นให้นักเรียนระบายสีตกแต่ง ติดตาปลอม และนำริบบิ้นสีสันต่าง ๆ มาทำเป็นหนวดของแมงกะพรุน และร้อยลูกปัดตก แต่งเป็นโมบายให้สวยงาม และนำไปแขวนในห้อง
-นักเรียน นำเสนอผลงานของตนเอง
ชิ้นงาน
- วาฬยืดได้
-โมบายแมงกะพรุนสายรุ้ง
ภาระงาน
-เลือกเรื่องที่อยากเรียนและตั้งชื่อโครงงาน
-ดูคลิปวีดีโอและนำเสนอเรื่องราวในคลิปว่ามีสัตว์น้ำอะไรบ้าง
-บอกชื่อสัตว์น้ำในนิทาน และเพลง
-เล่นเกม
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- วางกติกาข้อตกลงในห้องเรียน
- บอกชื่อสัตว์น้ำได้อย่างน้อย 3-5 ชนิด
- ฟังนิทาน/เรื่องเล่า/คลิปวีดีโอได้นาน 3-5 นาที
- การรู้จักกล่าวขอบคุณ ขอโทษ
สาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์
- นับจำนวนสิ่งของได้ 1-10
- บอกสีของสิ่งของที่เห็นได้
- บอกรูปทรงที่เห็นในสัตว์น้ำ
-บอกสีที่ต้องการ
ทักษะการเรียนรู้
- สังเกตและเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตและไม่ชีวิต
-สังเกตสัตว์น้ำและลักษณะของแต่ละชนิด
- ทักษะชีวิต
- ปรับตัวเข้ากับโรงเรียน เพื่อน ครู
- ดูแลของใช้ส่วนตัวของตนเอง
- การจัดเก็บของเข้าที่
- การดูแลตนเองขณะสำรวจที่ต่างๆ
-มีความมั่นใจ ตัดสินใจในการเลือกเล่น หรือทำงานกับเพื่อน
ทักษะสังคม
-ทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน และแสดงความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจ
-กล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ
-มีน้ำใน ช่วยเหลือเพื่อน
                            



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    -นักเรียนสามารถบอกลักษณะของวาฬได้ และมีคำถามเกี่ยวกับวาฬ เช่น ทำไมวาฬต้องพ่นน้ำ เป็นต้น
    -นักเรียนสามารถใช้อุปกรณ์ เช่น กรรไกร กาว สี สก็อตเทป ไม้ตะเกียบ ในการประดิษฐ์วาฬยืดได้ ได้อย่างคล่องแคล่ว
    -นักเรียนมีความสนใจในเรื่องสัตว์น้ำ โดยเลือกสิ่งที่อยากเรียนดังนี้
    ฟ้าใส อยากเรียนเรื่อง ปู
    อั่งเปา อยากเรียนเรื่องต้นไม้และสัตว์น้ำ
    อลิน อยากเรียนเรื่อง ว่ายน้ำให้เหมือนปลา
    อั้ม อยากเรียนเรื่อง ปลาดาว
    มิวส์ อยากเรียนเรื่อง ปลาหมึก
    เกละห์ อยากเรียนเรื่อง จระเข้

    ตอบลบ